พระที่นั่งอนันตสมาคม (Ananta Samakhom Throne Hall)


          พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งภายในพระราชวังดุสิต  โดยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถาน  เพื่อใช้เป็นสถานที่เสด็จออกมหาสมาคม  พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 11พฤษจิกายน พ.ศ. 2451  พร้อมทั้งพระราชทานชื่อพระที่นั่งว่า  พระที่นั่งอนันตสมาคม  ซึ่งเป็นชื่อพระที่นั่งองค์หนึ่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์ พระบรมมหาราชวังที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยสภาพที่ทรุดโทรมยากแก่การบูรณะจึงได้รื้อลง
พระที่นั่งอนันตมหาสมาคมออกแบบโดยมาริโอ ตามานโญ โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้เสด็จสวรรคตก่อนที่พระที่นั่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2458 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี ใช้งบประมาณประมาณ 15 ล้านบาท


  The Ananta Samakhom Throne Hall  is a former reception hall within Dusit Palace in Bangkok, Thailand. It is now a museum.
One year after the completion of the Amphorn Satharn Villa within the Dusit Palace in 1906, King Chulalongkorn (Rama V) commissioned the construction of a reception hall to replace the one built during the reign of King Mongkut (Rama IV.).
The building in Italian Renaissance and Neo Classic style was commissioned to the architects Mario Tamagno and Annibale Rigotti. Marble from Carrara, Italy, and other foreign materials were used. Italian sculptor Vittorio Novi, who would later also work on the Mahaiudthit Bridge, was employed with his nephew Rudolfo Nolli.
The Throne Hall is a two storey construction with a large dome (49.5 m high) in the centre, surrounded by six smaller domes. The domes and walls are covered with paintings by Professor Galileo Chini and Carlo Riguli depicting the history of the Chakri Dynasty, from the first to the sixth reign.
King Chulalongkorn died in 1910 and the building was finally completed in 1915.
It was used as the headquarters of the People's Party during the four days of the 1932 Revolution (June 24-27), which transformed the country's political system from an absolute monarchy to a constitutional one. The first National People's Assembly convened on June 28, 1932 in this throne hall. After that, it was used as the Parliament House until 1974 when the new Parliament House was opened to the north. However, the old Parliament House is still used for the State Opening of Parliament marking the first assembly in consequence of a general election for the House of Representatives.
Otherwise it is open to the public every day except on Chulalongkorn Day (23 October), the King's birthday (05 December) and the Queen's birthday (12 August).
In front of the Hall is The Royal Plaza with the equestrian statue of King Chulalongkorn (Rama V).

ความเป็นมาของกรุงเทพมหานคร


          กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยและเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในประเทศอีกด้วย  โดยพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครเดิมที่เป็นที่ตั้งของเมือง ธนบุรีศรีสมุทร
          ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมืองธนบุรีศรีสมุทร ได้ถูกใช้เป็นเมืองหน้าด่านคอยดูแลเก็บภาษีเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออกมาทำการค้าขายกับประเทศไทย
          ต่อมาเมื่อถึงคราวกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมา  หลังจากนั้นจึงได้ทรงสถาปนา กรุงธนบุรี ขึ้นเป็นราชธานีในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313  แต่เนื่องจากกรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดที่จะย้ายเมืองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ง่ายต่อการป้องกันและรักษาเมืองยามมีศึกสงคราม
          หลังจากสิ้นรัชกาลของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  จึงได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี  และทรงมีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิที่ดีกว่าตะวันตก  เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง  หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร  ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก  จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ทรงประกอบพิธียกเสาเมืองขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 และได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
          ต่อมาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นจังหวัดพระนคร
          ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร  ได้รวมเอาจังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี  และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น  กรุงเทพมหานคร.